"คนไข้ใช้ verapamil คุม dose simvastatin ไม่เกิน 10 mg" ตัวเท่าบ้าน
-----คุณพระ-----
ท่านเป็นแพทย์ที่ดีงามมาก (ไม่รู้เขียนตัวใหญ่ไว้บอกใคร เตือนตัวเองหรือบอกเภ)
------ไม่ได้การ----- ชั้นจำไม่ได้ว่าตัวไหนบ้าง งั้นต้องรีวิวกันหน่อย
================== SIMVASTATIN ==========================
เรื่องควรรู้
- เรื่องของ dose simvastatin นี่ประกาศโดย FDA ตั้งแต่ปี 2010 แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่
แค่ไม่มีใครสนใจทำตาม - มันเกิดมาจาก trial ชื่อ SEARCH ซึ่งเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตระหว่าง simvas 80 ไปจนถึง 20 mg ในผู้ป่วย MI
- ผลก็คือ การใช้ 80 mg เพิ่มความเสี่ยง myopathy มากกว่าที่เคยระบุไว้ใน label และยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิด rhabdomyolysis ---Fifty-two patients (0.9%) in the 80-mg group versus one patient (0.02%) in the 20-mg group developed myopathy (defined as unexplained muscle weakness or pain with a serum CK >10 times the upper limit of normal [ULN])---- โดย rhabdomyolysis นี่เพิ่มความเสี่ยงตั้งแต่ปีแรกที่ใช้แล้วด้วย
- สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิด myopathy คือ :
- อายุมาก (ไม่รู้กี่ปียังไม่ได้อ่านละเอียด) และ เพศหญิง (ซวยตลอด)
- ซึ่งผลของ trial นี้มันไปสอดคล้องกับ FDA's Adverse Event Reporting System (AERS) database พอดีโป๊เชะ FDA เลยเข้ามาผสมโรงประกาศระวังการใช้ไปด้วย
มาดูข้อห้ามใช้กัน
- จะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นแก๊ง 3A4 inhibitors ทั้งสิ้น ซึ่งเพิ่มระดับ simvas ในเลือด
- ระวังมากๆ ที่เจอบ่อยคือ gemfibrozil กับ PIs
- ก็ยังคงงงกับตัวเองอยู่ว่า erythro clarithro ถ้ามันใช้แค่ 7 วันนี่เป็นไรมั้ยอ่ะ (แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐจะใช้ roxithro นะ ซึ่งถูกกว่ามาก แต่ไม่ค่อยมีข้อมูลมันเลยอ่ะ)
ต่อไปคือข้อควรระวัง
- สรุปคือ ห้ามใช้ simvas เกิน 10 mg เมื่อใช้ร่วมกับ verapamil, diltiazem (CCBs), และห้ามเกิน 20 mg เมื่อใช้ร่วมกับ amiodarone, amlodipine
- ส่วน grapefruit นี่ไม่ค่อยเจอนะ แต่เห็นเริ่มเอาเข้ามาขายในไทยละ ระวังในกลุ่มผู้ป่วยมีเงินซื้ออาหารเสริมให้ดี
แถม การเทียบ equivalence dose
******ภาพ capture ทั้งหมดนำมาจาก http://www.fda.gov/drugs/drugsafety/ucm256581.htm*****
Reference:
2. เหมือนเคยอ่านผ่านๆของไทยทำที่ รพ.พระมงกุฎ หา incidence myopathy เดี๋ยวว่างๆจะไปหามาใส่